น.ส. นพวรรณ แสงสีทอง รหัส 06540076 วิชาเอก สังคมศึกษา
ข้อสอบกลางภาค 462 201 การพัฒนาหลักสูตร
คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
1.
เมื่อมีความจำเป็นในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
นักศึกษาจงนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่มีรายละเอียดข้อมูล ประกอบแผนภูมิ
ตามประเด็นต่าง ๆ โดยอธิบายในลักษณะกระบวนการปฏิบัติงานกลุ่มในการเรียนรู้วิชานี้
ดังต่อไปนี้
1). คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
โดยระบุบทบาทหน้าที่ และขอบข่ายการปฎิบัติงาน
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
ควรมาจากผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพโรงเรียน
สภาพของผู้เรียน และสภาพสังคม
เพื่อที่จะทำให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนมากที่สุดโดยคณะกรรมการหลักสูตรจะต้องทำความเข้าใจในประเด็นดังนี้
1.โรงเรียนจะเป็นเลิศด้านใดบ้าง มีวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายอย่างไร
2.หลักสูตรสถานศึกษาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด
3.จัดการศึกษาตามแนวคิดใด
4.ประเมินการเรียนรู้อย่างไร
โดยมีขอบข่ายทางการศึกษาในประเด็น ดังนี้
1.การศึกษาสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
2.การศึกษาสภาพและความต้องการของผู้เรียน
3.การศึกษาศักยภาพของโรงเรียน
4.
ศึกษาหลักสูตรแม่บท
คณะกรรมการอำนวยการ มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร
และศึกษาสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้าน สังคม จิตวิทยา และ
ปรัชญาโดยมีบทบาทในพัฒนาหลักสูตรประสานองค์ความรู้ทั้ง 3 ด้านให้เป็นหนึ่งเดียวให้มีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยแบ่งเป็นแต่ละฝ่ายดังนี้
1. คณะกรรมการทางด้านสังคม ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของผู้เรียนเพื่อเป็นการปรับปรุงและเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนขาดซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสังคมที่จะกำหนดหลักสูตรอย่างไรให้สอดคล้องกับสังคมของผู้เรียนอันจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนได้ดีมากยิ่งขึ้น
บทบาทของคณะกรรมการสังคมร่มไม้
1. ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ทางสังคมของนักเรียน
2. เขียนถึงรูปแบบที่จะใช้ในการพัฒนาหลักสูตรว่าควรใช้รูปแบบใดทั้งนี้รูปแบบนั้นควรมีความหลากหลายและตอบสนองต่อผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม 3. ตรวจสอบหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพสังคม
4. นำหลักสูตรไปให้คณะกรรมการแต่ละชุดตรวจสอบให้สอดคล้องกัน
ขอบข่ายการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสังคม
1. ประสานงานกับครูประจำชั้นในการถามถึงรายละเอียดทางด้านสังคมของผู้เรียน
2. หลังจากที่ได้ประมวลถึงสภาพสังคมแล้วก็นำมาเป็นแนวทางในการเขียนหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียน
3. ตรวจสอบการพัฒนาหลักสูตรภายในคณะกรรมการสังคมและคณะกรรมการแต่ละชุดเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป
2. คณะกรรมการทางด้านจิตวิทยา กระบวนการทางด้านจิตวิทยาต่อการพัฒนาหลักสูตรว่าจะดำเนินงานเน้นผู้เรียนทางด้านใดเพื่อให้เข้ากับธรรมชาติของผู้เรียนและการจัดหลักสูตรที่เหมาะสม
โดยต้องอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 3 กลุ่ม คือกลุ่มพฤติกรรมนิยม
กลุ่มปัญญานิยม กลุ่มมนุษยนิยม เป็นต้น
บทบาทของคณะกรรมการทางด้านจิตวิทยา
1. ดำเนินการศึกษาทฤษฎีทางจิตวิทยา 2. กำหนดแนวทางของหลักสูตรด้านจิตวิทยาโดยอิงกับคณะกรรมการทุกๆด้าน
3. นำรูปแบบทางด้านจิตวิทยาที่พัฒนาร่วมกันไปปรึกษาคณะกรรมการแต่ละชุด
พร้อมทั้งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 4. กำหนดรูปแบบ กิจกรรมแนวทางการสนับสนุนให้แนวคิดทางจิตวิทยาบรรลุผล5. ดำเนินการตรวจสอบ
ขอบข่ายการปฏิบัติงานของคณะกรรมการทางด้านจิตวิทยา
1. ศึกษาทฤษฎีทางจิตวิทยาต่างๆและนำมาอิงกับหลักสูตรที่เราจะพัฒนาโดยมีเป็นกระบวนการคิดเลือก
แนวคิดทางจิตวิทยาที่เหมาะสมที่สุด 2. กำหนดรูปแบบแนวทางการใช้หลักสูตร กำหนดกิจกรรมให้รองรับกับกับแนวคิดทางจิตวิทยา 3. การตรวจสอบคุณภาพทางด้านจิตวิทยาโดยคณะกรรมการแต่ละชุดและผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
4.หากแนวคิดมีความเหมาะสมก็ดำเนินการามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรแต่ถ้าหากยังไม่เหมาะสมก็นำมาแก้ไขปรับปรุงต่อไป
แนวคิดทางจิตวิทยาที่เหมาะสมที่สุด 2. กำหนดรูปแบบแนวทางการใช้หลักสูตร กำหนดกิจกรรมให้รองรับกับกับแนวคิดทางจิตวิทยา 3. การตรวจสอบคุณภาพทางด้านจิตวิทยาโดยคณะกรรมการแต่ละชุดและผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
4.หากแนวคิดมีความเหมาะสมก็ดำเนินการามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรแต่ถ้าหากยังไม่เหมาะสมก็นำมาแก้ไขปรับปรุงต่อไป
3.คณะกรรมการทางด้านปรัชญา ปรัชญามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหรือการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ปรัชญาในการช่วยกำหนดจุดประสงค์ในการจัดหลักสูตรการสอนสำหรับผู้เรียนโดยคณะกรรมการก็ควรที่จะศึกษาถึงความต้องการของโรงเรียน
สภาพทางสังคม จิตวิทยา วิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วย
บทบาทของคณะกรรมการปรัชญา
1. ทำการปรึกษาหารือในแนวทางที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
2. ศึกษาข้อมูลทางด้านปรัชญาการศึกษา
3. เขียนแนวทางการพัฒนาหลักสูตรทางด้านปรัชญาการศึกษา
4. ตรวจสอบรวมกันพร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสม
ขอบข่ายการปฏิบัติงานของคณะกรรมการปรัชญา
1. ภายในคณะกรรมการการพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาถึงความเหมาะสมทางด้านต่างๆที่จะนำมาใช้ในการเลือกปรัชญาการศึกษาโดยต้องให้สอดคล้องกับสภาพสังคมของผู้เรียนและโรงเรียน
รวมถึงด้านจิตวิทยา ด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.
ศึกษาข้อมูลทางด้านปรัชญาการศึกษาที่เลือกให้เหมาะสมกับการที่จะนำมาพัฒนาหลักสูตร
3. กำหนดทิศทางการสร้างหลักสูตรการศึกษาโดยอิงกับปรัชญาการศึกษาที่เลือกไว้
ทั้งนี้ควรกำหนดถึงรูปแบบการสอน กิจกรรม และ
สื่อที่เลือกมาใช้ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
4.ทำการตรวจสอบโดยกระบวนการกลุ่มเพื่อนำมาสู่ปรัชญาการศึกษาที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียน
2). แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ไทเลอร์ กล่าวว่า
ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะตอบคำถามพื้นฐานได้ 4
ประการ คือ
(1) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนตั้งใจจะก่อให้เกิดแก่ผู้เรียน
(2) มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(3) จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ
(4) ประเมินผลประสบการณ์อย่างไรจึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(1) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนตั้งใจจะก่อให้เกิดแก่ผู้เรียน
(2) มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(3) จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ
(4) ประเมินผลประสบการณ์อย่างไรจึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
หากพิจารณาคำถามดังกล่าวมา
จะเห็นว่าเป็นคำถามที่แสดงองค์ประกอบของหลักสูตรและยังแสดงลำดับขั้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วย
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์อาจจัดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายชั่วคราว กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน สังคม และเนื้อหาวิชาเป็น
1. กำหนดจุดมุ่งหมายชั่วคราว กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน สังคม และเนื้อหาวิชาเป็น
พื้นฐาน
2. กำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เกิดจากการนำเอาจุดมุ่งหมายชั่วคราวไปตรวจสอบ กลั่นกรองด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ ปรัชญาการศึกษา และปรัชญาสังคม แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมสอดคล้องกัน
3. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้
4. กำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
5. กำหนดการประเมินผล
2. กำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เกิดจากการนำเอาจุดมุ่งหมายชั่วคราวไปตรวจสอบ กลั่นกรองด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ ปรัชญาการศึกษา และปรัชญาสังคม แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมสอดคล้องกัน
3. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้
4. กำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
5. กำหนดการประเมินผล
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ มีกระบวนการดังแผนภูมิ

3). การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร คือ
การที่ศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรในการนำไปใช้ และเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของหลักสูตร
ที่หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะต้องทำการแก้ไขก่อนนำไปใช้ โดยการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1.
ตรวจสอบจุดประสงค์ของหลักสูตร ว่าสอดคล้องกับหลักสูตรที่จะนำไปใช้
โดยจุดประสงค์ก็คือความต้องการของผู้เรียน
โรงเรียน และชุมชน ที่ต้องสอดคล้องกับพื้นฐานปรัชญาทางการศึกษา ,
พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา , พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ,
พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
และพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งยังต้องมีความชัดเจนอีกด้วย
และสามารถจำแนกประเภทของจุดประสงค์ได้ 3 ด้าน ดังนี้ ด้านความรู้หรือสติปัญญา ,
ด้านเจตคติหรือความรู้สึก , และด้านทักษะปฏิบัติ
2. ตรวจสอบเนื้อหาสาระ
เนื้อหาสาระเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีการเรียนรู้
และได้รับการถ่ายทอดจากผู้สอนที่ตรงกับความสนใจ ความต้องการ
ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการที่จะถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้กับผู้เรียนนั้น
ก็ควรมีการเรียบเรียงลำดับขั้นของเนื้อหาจากขั้นพื้นฐานไปสู่เนื้อหาที่มีความลึกซึ้งมากขึ้น
และมีการจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ
โดยต้องสอดคล้องกับอายุ ระดับชั้นของผู้เรียน
มีการกำหนดระยะเวลาในการเรียนอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ก็ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
3. ตรวจสอบการจัดรูปแบบการสอน
ควรมีวิธีการจัดรูปแบบการสอนที่หลากหลาย
เพื่อให้เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
ที่จะได้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ
และจะได้เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในด้านต่างๆ
โดยการจัดรูปแบบการสอนนี้ผู้สอนก็ควรเน้นการจัดรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้สอนทำหน้าที่เป็นเพียงผู้คอยอำนวยความสะดวก ผู้ให้คำแนะนำที่เหมาะสม
เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาด้วยตนเอง
ได้มีความริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์
การฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง และการจัดรูปแบบการสอนก็ควรมีความยืดหยุ่น
สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้เรียน
ตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน
เน้นการฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ โดยมีความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการปฏิบัติด้วย
4. ตรวจสอบการประเมินผล
เป็นเกณฑ์ต่างๆที่มีขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินผล
ชี้วัดความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยผู้สอนจะสร้างเครื่องมือในการประเมินผลขึ้นมาหรือผู้เรียนอาจจะมีส่วนร่วมในการสร้าง
แนะนำ เครื่องมือในการประเมินผลและผู้เรียนก็ยังมีส่วนร่วมในการใช้เครื่องมือในการประเมินผลนี้ด้วย
ซึ่งเครื่องมือในการประเมินผลก็ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาสาระ
รูปแบบการจัดการสอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้การประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถวัดความก้าวหน้าของผู้เรียนได้จริง
4). การศึกษาการใช้หลักสูตร
1. หาข้อมูลโรงเรียน เช่น
-
ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน
-
วิสัยทัศน์
- พันธกิจของโรงเรียน
- ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน
- แนวทางการพัฒนาของโรงเรียน
- แนวทางการพัฒนาของโรงเรียน
2.
การติดต่อประสานงาน
3.
เก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับนักเรียน เช่น
-
ผลการเรียน
-
ความสนใจ
-
สมรรถภาพของผู้เรียน
4. วางแผนการดำเนินงานกับทางโรงเรียน
เช่น
-
ตรวจสอบความพร้อมในด้านสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยี
-
กำหนดคาบเรียนการใช้หลักสูตร
5.
ประเมินผลการใช้หลักสูตร
6. ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
2.
ในการพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานการพัฒนาด้านใดบ้าง อย่างไร
นักศึกษาเห็นว่าเนื้อหาสาระใดมีความสำคัญอย่างยิ่ง จงนำเสนอแนวคิดถึงความสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตรนั้นมีพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรอยู่
5
ด้านคือ
1) ข้อมูลพื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา
2) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
3) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมของผู้เรียน
4) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิชาการ
5) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เราจะเห็นข้อมูลทั้ง 5
ด้านมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรด้วยกันทั้งนั้น การที่จะพัฒนาหลักสูตรขึ้นมานั้นหากเรามีความเข้าใจหรือเน้นที่ด้านใดไปด้านหนึ่งก็จะเป็นหลักสูตรที่ไม่สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้
1. ข้อมูลพื้นฐานทางด้านปรัชญา
บทบาทของนักปรัชญาการศึกษา
1. อธิบายถึงสภาพการณ์ของการศึกษาว่าอยู่ในสภาพอย่างไร
2. วิจารณ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของการศึกษาว่า
มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงไร
3. เปรียบเทียบแนวความเชื่อของตนกับแนวการจัดการศึกษาว่า
แตกต่างกันอย่างไร โดยอาศัยการวิเคราะห์
วิจารณ์จากความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น
หรือกำหนดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาที่สำคัญ
1. ปรัชญาสารนิยม (Essentialism)
2. ปรัชญาสาขาสัจนิยมวิทยา
หรือนิรันตรนิยม (Perenialism)
3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
ปรัชญาสารนิยม (Essentialism)
ปรัชญาสารนิยม เชื่อว่า
การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และความจริงทางธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ความจริง
และการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ
การจัดการเรียนการสอนตามความเชื่อนี้จึงเน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล
ข้อเท็จจริง และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูลข้อเท็จจริงเหล่านั้น
รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนนั้น
ยึดหลักส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในความรู้อันสูงสุดให้มากที่สุดเท่าที่นักเรียนแต่ละคนจะทำได้
วิธีที่ครูส่งเสริมมากคือ การรับรู้และการจำ
การจัดนักเรียนเข้าชั้นจะยึดหลักการจัดแบบแยกตามลักษณะและระดับความสามารถที่ใกล้เคียงกันของผู้เรียน
(Homogeneous
Grouping) เพื่อมิให้ผู้ที่เรียนช้าถ่วงผู้ที่สามารถเรียนเร็ว
ในการสอนจะคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการมากกว่าคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
(Progressivism)
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปรัชญานี้
จะเริ่มด้วยคำถามที่ว่า “ผู้เรียนต้องการเรียนอะไร”
จากนั้นครูผู้สอนจึงจัดแนวทางในการเลือกเนื้อหาวิชา
และประสบการณ์ที่เหมาะสมมาให้
เน้นการปลูกฝังการฝึกฝนอบรมในเรื่องดังกล่าวโดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ (Experience)
เนื้อหาวิชาเหล่านี้จะเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
และเกี่ยวกับสภาพและปัญหาในสังคมด้วย และส่งเสริมความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง
ในการสอนครูจะไม่เน้นการถ่ายทอดวิชาความรู้แต่เพียงประการเดียว
แต่จะคอยเป็นผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือเด็กในการสำรวจปัญหา ความต้องการ
และความสนใจของตนเอง คอยแนะนำช่วยเด็กในการแก้ปัญหา แนะนำแหล่งต่าง ๆ
ที่เด็กจะไปค้นหาความรู้ที่ต้องการจะเน้นให้เด็กมีโอกาสปฏิบัติ
ส่วนการการประเมินผลจะนำพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ เข้ามาร่วมประมวลด้วย
โดยไม่เน้นการวัดความเป็นเลิศทางสมองและวิชาการเหมือนปรัชญาเช่นที่แล้วมา
ปรัชญาสาขาสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม
(Perenialism)
แนวความคิดหลักทางการศึกษาของสัจวิทยานิยม
ได้แก่ ความเชื่อที่ว่า หลักการของความรู้ จะต้องมีลักษณะจีรังยั่งยืนอย่างแท้จริง
คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเราควรอนุรักษ์และถ่ายทอดให้ใช้ได้ในปัจจุบันและอนาคต
การจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้
จะมุ่งเน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่าง ๆ
โดยผู้สอนใช้การบรรยาย ซักถามเป็นหลัก รวมทั้งเป็นผู้ควบคุม ดูแล
ให้ผู้เรียนอยู่ในระเบียบวินัย
ส่วนการปล่อยให้ผู้เรียนมีอิสระจนเกินไปในการเรียนตามใจชอบนั้น
แต่เป็นการขัดขวางโอกาสที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถที่แท้จริงของเขา
การค้นพบตัวเองต้องอาศัยระเบียบวินัยในตนเอง
ซึ่งไม่ใช่มีโดยไม่ต้องอาศัยวินัยจากภายนอก
ความสนใจในสิ่งที่เป็นความจริงแท้นั้นมีอยู่ในตัวคนทุกคน แต่มันจะไม่สามารถแสดงออกมาได้โดยง่าย
ต้องอาศัยการศึกษาที่ช่วยฝึกฝนและดึงความสามารถเหล่านี้ออกมา
ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism)
พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่า
เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างระเบียบทางสังคมขึ้นมาใหม่
การจัดหลักสูตรตามแนวของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูป
และสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระดับโลกในที่สุด
ความมุ่งหมายของหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น
เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่เลือกมาบรรจุในหลักสูตรจะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของสังคมเป็นส่วนใหญ่
เนื้อหาวิชาเหล่านี้จะเน้นหนักในหมวดสังคมศึกษา เพราะปรัชญานี้เชื่อว่า
การปฏิรูปสังคม หรือการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น โดยกระบวนการช่วยกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
การจัดระเบียบของสังคม การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และการส่งเสริมประชาธิปไตย
เป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม
และการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
การจัดการศึกษาตามปรัชญานี้จึงให้ความสำคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด
และสนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตของเขาเอง
ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ตนต้องการ มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่อเผชิญกับปัญหาและสถานการณ์ต่าง
ๆ และรับผิดชอบในการตัดสินใจหรือการกระทำของตน
กระบวนการเรียนการสอนยึดหลักให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักตนเอง
ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจตนเองและเป็นตัวของตัวเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน
การอ่าน การละคร
โดยมีครูกระตุ้นให้แต่ละบุคคลได้ใช้คำถามนำไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการ
ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
มุ่งพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
2. ข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism Theory)
เชื่อว่า
การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก การตอบสนองสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงออก
ซึ่งมีการเสริมแรงเป็นตัวการ โดยทฤษฎีนี้ จะไม่พูดถึงความคิดภายในของมนุษย์
ความทรงจำ ความรู้สึก ลักษณะของหลักสูตก็จะเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
การจัดหลักสูตรและประสบการณ์การเรียนรู้เป็นหมวดหมู่มีลักษณะต่อเนื่อง
ผู้สอนเป็นศูนย์กลางจะควบคุมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
โดยจะพัฒนาผู้เรียนไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
2) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism Theory)
จะมีลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การออกแบบหลักสูตรประสบการณ์การเรียนและการสอน
จะจัดตามลำดับขึ้นของการพัฒนาผู้เรียนแต่ละช่วงวัย
โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบค้นพบหรือการแก้ปัญหา
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์
3) ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic View of
Motivation) จะมีการจัดหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ
บทบาทของผู้สอนจะเป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจให้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ ให้ผู้เรียนได้สำรวจค้นพบตนเอง
3. ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
การศึกษาทำหน้าที่สำคัญคือ
อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ
โดยหน้าที่ดังกล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึงปรารถนา
เพราะฉะนั้นหลักสูตรที่จะนำไปสอนอนุชนเหล่านั้นจึงต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก
และโดยธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น
การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
จึงจะทำให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน
สามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการสังคมได้
4. ข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป
ผู้เรียนเกิดความจำเป็นต้องเพิ่มความรู้ใหม่ ทักษะใหม่
และต้องเปลี่ยนแปลงเจตคติใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นต้องเพิ่มความรู้ใหม่เพื่อให้คนในสังคมสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
โดยการใช้การศึกษาทำหน้าที่สร้างประชาชนที่มีคุณภาพและมีความสามารถปรับตัวเข้ากับการความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
หลักสูตรที่นำมาใช้จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญทางด้านนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเนื้อหาของหลักสูตรและการเรียนการสอน
เช่น อุปกรณ์การสอนใหม่ๆ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ วิทยุ
โทรทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง วีดิทัศน์
ไมโครฟิล์ม โพรเจกเตอร์ วิธีการสอนใหม่ซึ่งใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วย เช่น
วิทยุการศึกษา โทรทัศน์การศึกษา การศึกษาทางไกล การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นต้น
วัสดุอุปกรณ์
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
และวิธีการสอนที่อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านี้
สามารถช่วยให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงกว่าการสอนในอดีต
ผู้พัฒนาหลักสูตรควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าวแล้วนำมาพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมด้วย
5. ข้อมูลพื้นฐานวิชาการ
การพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องคำนึงถึงเกณฑ์ในการพิจารณาการเลือกเนื้อหาสาระลงในรายวิชาว่ามีปรัชญาของหลักสูตรเน้นในเรื่องใด
เช่น การเน้นทางด้านเนื้อหา หรือกระบวนการแสวงหาความรู้ ความคิดรวบยอดหลักๆที่จะเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาความคิด
ค่านิยมของผู้เรียนที่เหมาะกับวุฒิภาวะ
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนและสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กับรายวิชาอื่นๆได้อย่างไร
นักพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจน
รวมทั้งข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการปรับความคิดที่หลากหลายภายในคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรให้มีเอกภาพ
เพื่อสรุปและประมวลสาระของรายวิชามาลงไว้ในหลักสูตรโดยสอดคล้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

ขั้นที่ 1
ขั้นเตรียมข้อมูลพื้นฐาน
- สมาชิกในกลุ่มปรึกษากันในหัวข้อเรื่อง
การเลือกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในการจัดทำหลักสูตร
- สมาชิกในกลุ่มเสนอความคิดเห็นในเรื่อง
การเลือกโรงเรียนที่จะนำหลักสูตรไปใช้
- วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษา
และจิตวิทยาการเรียนรู้ มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาและนักจิตวิทยา
แล้วนะแนวคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่ 2 ขั้นการประสานงาน
- สมาชิกในกลุ่มดำเนินการประสานงานขออนุญาตนำหลักสูตรมาใช้ที่โรงเรียนศรีวิชัย
-
ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะนำมาใช้ให้ทางโรงเรียนทราบ
§
สาระการเรียนรู้
§
วัน เวลา ที่จะนำหลักสูตรมาใช้
เป็นต้น
-
มีการจัดทำและส่งหนังสือขออนุญาต เพื่อนำหลักสูตรไปใช้ในวัน เวลาที่กำหนด
ขั้นที่ 3 ขั้นจัดทำหลักสูตร
- กำหนดเป้าหมายของหลักสูตร
และกำหนดคุณลักษณะของผู้เรียนจบหลักสูตรจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าจะมีความรู้ ทักษะ
แนวคิดอะไร มีเจตคติอย่างไร สามารถทำอะไรได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างไร
- จัดเนื้อหาและประสบการณ์ที่ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่คาดหวังไว้ในจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
- จัดทำโครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยรายวิชา
หรือหัวข้อของเนื้อหา และเวลาเรียน
- การกำหนดแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป็นการกำหนดวิธีการประเมินผลพร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินได้ว่าผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่คาดไว้ในจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ขั้นที่ 4 ขั้นการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรและปรับแก้ก่อนนำไปใช้
นำหลักสูตรที่ร่างเสร็จแล้วไปตรวจสอบ
ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ เช่น ครูผู้สอน นักศึกษาปริญญาโท เป็นต้น แล้วนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไขร่างหลักสูตรให้ดีขึ้น
เตรียมพร้อมที่จะนำไปใช้
ขั้นที่ 5 ขั้นการนำหลักสูตรไปใช้
นำหลักสูตรที่ตรวจสอบคุณภาพและแก้ไขสมบูรณ์แล้วไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน
โดยใช้วิธีการต่างๆที่มั่นใจว่ามีการใช้หลักสุตรอย่างเหมาะสม เช่น
วางแผนการสอน จัดการเรียนการสอน
ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นต้น
ขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินหลักสูตรและการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
- เป็นการประเมินหลักสูตรทุกขั้นตอน
แล้วนำผลจากการประเมินมาพิจารณาร่วมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
เพื่อตัดสินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรและนำผลการประเมินมาปรับปรุงประสิทธิภาพของหลักสูต
- เป็นการนำผลการประเมินหลักสูตรมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีผลการประเมินพบข้อบกพร่องหรือปัญหาอุปสรรค
ผู้พัฒนาหลักสูตรจะดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้ได้อย่างดีที่สุด
![]() |

|
![]() |
|

![]() |


ในกรณีที่องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร
จากโมเดลหายไปจะเกิดความไม่สมบูรณ์และขาดความไม่ต่อเนื่องในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะทำให้หลักสูตรนั้นไม่มีความพร้อมหรือไม่สามารถนำไปใช้ได้ดี

4.
การนำหลักสูตรไปใช้มีนักการศึกษาใดหรือใครที่เสนอแนะไว้ว่าควรคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง
อย่างไร
การนำหลักสูตรไปใช้
เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์
จุดหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา
และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนตอนใดๆทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม
ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ถ้าหากว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ
ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้
จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้
จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ
เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุกประการ ดังนั้นการนำหลักสูตรไปใช้ควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
1.ความปลอดภัย
ความปลอดภัยในการนำหลักสูตรไปใช้
กล่าวคือ ความปลอดภัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมที่ต้องใช้ความรอบคอบ
รัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียทางทรัพย์ ทางกาย ทางใจ ฯลฯ
ตลอดจนความปลอดภัยของหลักสูตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบ
ของผู้เรียน ผู้ใช้หลักสูตร และเกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม
2.ความพอเพียง
ความพอเพียง
โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจของผู้เรียน
ให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ได้สร้างไว้ ผู้จัดทำควรเป็นต้นแบบที่ดีในความพอเพียง
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.การสื่อสาร
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร
คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บ้างอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน
การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู่เป็นความสำคัญในการใช้งาน และ ต้องเกิดความรอบคอบ รัดกุม
เพื่อไม่ให้ผู้ใช้หลักสูตร และถูกนำไปใช้ เกิดความคลาดเคลื่อนซึ่งกันและกัน

การประเมินผลหลักสูตร
เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรว่ามีคุณภาพและสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้หรือไม่อย่างไร
มีความบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข
เพื่อที่จะนำผลการประเมินมานั้นมาปรับปรุงหลักสูตรให้ได้หลักสูตรที่มีคุณภาพต่อไป
สำหรับการประเมินผลมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน
ดังนี้
การประเมินนั้นได้รับอิทธิพลมาจาก
Tylor
โดยตรงจากการที่เขาได้ทำแบบประเมินโครงการมัธยมศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา
และต่อมารูปแบบการประเมินหลักสูตรก็ได้ขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ต่อมา Stufflebeam
และคณะได้เสนอแนวคิดแบบ CIPP Model สำหรับการประเมินบริบท
ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิต เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกเป้าหมายและจุดมุ่งหมายการดำเนินงาน
การเลือกยุทธวิธี แผนงาน และการดำเนินงานและการตัดสินใจปรับเปลี่ยนงาน
ให้มีความเหมาะสม
ยกตัวอย่างการประเมินหลักสูตรแบบ
CIPP
Model
รูปแบบการประเมินของ Stufflebeam ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ เป็นรูปแบบที่มุ่งให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจคัดสรรทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รูปแบบการประเมินที่เป็นที่นิยมในการประเมินเรื่องต่างๆแม้กระทั้งในวงการศึกษาไทย ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
รูปแบบการประเมินของ Stufflebeam ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ เป็นรูปแบบที่มุ่งให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจคัดสรรทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รูปแบบการประเมินที่เป็นที่นิยมในการประเมินเรื่องต่างๆแม้กระทั้งในวงการศึกษาไทย ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation)
เป็นการประเมินที่มีจุดหมายเพื่อให้ได้หลักการและเหตุผลมากำหนดจุดมุ่งหมายการประเมินสภาพแวดล้อมจะช่วยให้ผู้พัฒนาหลักสูตรรู้ว่า
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง
สภาพการณ์ที่คาดหวังกับสภาพแวดล้อมนั้นที่แท้จริงนั้นเป็นเช่นไร มีความต้องการหรือปัญหาอะไรที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองหรือแก้ไข เช่น
การนำหลักสูตรไปประเมินโดยดูจากจุดมุ่งหมายและครอบคลุมนโยบายของโรงเรียน
ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน
คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้ปกครองและตัวนักเรียน แผน วิสัยทัศน์ จุดหมาย
โครงสร้างหลักสูตร
2. การประเมินปัจจัยหรือตัวป้อน (Input Evaluation)
เป็นการประเมินที่มีจุดหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลมาตัดสินใจว่าจะใช้ทรัพยากรหรือสรรพกำลังต่างๆ
ที่มีอยู่เพื่อให้ได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างไร
จะขอความช่วยเหลือด้านทรัพยากรและสรรพกำลังจากภายนอกดีหรือไม่ อย่างไร
ประเด็นการประเมินจะครอบคลุมเกี่ยวกับงบประมาณ อาคารสถานที่ คุณลักษณะ คุณวุฒิ
คุณสมบัติ ประสบการณ์ของผู้บริหาร ผู้สอนจำนวนคุณภาพของผู้เรียน
พื้นฐานความรู้ผู้เรียน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หนังสือตำรา เอกสารหลักสูตร
การสนับสนุนส่งเสริมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เวลาและช่วงเวลา เป็นต้น
3. การประเมินด้านกระบวนการหรือผลผลิต (Process Evaluation)
เป็นการประเมินที่มีจุดหมายเพื่อดูว่ามีจุดเด่น
หรือจุดด้อยที่ควรนำมาพัฒนาของรูปแบบการดำเนินงานตามหลักสูตรอย่างไร
เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกวิธีการต่อไป
ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจดบันทึกผลประเมินกระบวนการนั้นจำเป็นต้องมีการประเมินที่หลากหลายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ประเด็นการประเมินครอบคลุม เกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตร การนิเทศ
การกำกับติดตาม การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
และการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นต้น
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
มีจุดมุ่งหมายที่จะนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่คาดหวังไว้หรือไม่
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถ สมรรถนะ คุณธรรม จริยธรรม เจตคติ
รวมทั้งความสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่
ซึ่งประเด็นการประเมินจะครอบคลุมเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการเรียนรู้
สัมฤทธิผลทางการเรียน และความสามารถในการนำไปใช้งาน
Play at the Best Casino Site - Choices Casino
ตอบลบChoices Casino is one choegocasino of the most trusted online casino sites in 메리트카지노 New Zealand, offering a number of หารายได้เสริม exclusive casino games and a great welcome bonus.