กิจกรรมท้ายบท
กิจกรรมที่ 1: ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรตามความสนใจ
ตามประเด็นสำคัญต่อไปนี้
1.1
ศึกษานิยามความหมายของ “หลักสูตร” แล้วสรุปนิยาม/ความหมาย
“หลักสูตร”
คำว่า “หลักสูตร” ภาษาอังกฤษ
เขียนว่า Curriculum มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า“currere” หมายถึง “race – course” หรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน
เมื่อนำมาใช้ในบริบทของการศึกษา จึงหมายถึง running sequence of
courses or learning experience เปรียบเสมือน
เส้นทางที่ผู้เรียน จะต้องเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ
(วิชัย วงษ์ใหญ่,2554:105)
ความหมายของ“หลักสูตร” ตาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2546 คือ
ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษา
เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ความหมายของหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
ความหมายของหลักสูตร ตามความเชื่อทางการศึกษาและความเข้าใจที่แตกต่างกัน
ในส่วนนักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรของต่างประเทศ
ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของหลักสูตรไว้ โดยสรุปดังนี้ (สุเทพ อ่วมเจริญ,
2555 : 2-3)
บอบบิต (Bobbit, F. 1918) อธิบายคำว่า
หลักสูตร หมายถึง วิถีทางที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ที่เด็กแต่ละคน จะต้องก้าวผ่าน
เพื่อเติบโตขึ้น นอกจากโรงเรียนแล้ว
ประสบการณ์นอกโรงเรียนก็นับเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Salor, Alexzander and Lewis 1981) ได้ให้คำนิยาม หลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร
คือ การจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล
ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะโรงเรียน
ปริ้น (Print.M., 1993:9) ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว สรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
· แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
· สิ่งที่เสนอในสถาบันการศึกษา/โปรแกรมการศึกษา
· การนำเสนอในรูปเอกสาร
· รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนำเอกสารต่างๆไปใช้
สมิธ (Smith,M.K. 1996) “ได้ให้แนวคิดในการนิยาม
“หลักสูตร” ตามทฤษฎีและการปฏิบัติหลักสูตร
4 ทิศทาง ดังนี้
1. หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2. หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3. หลักสูตรเป็นกระบวนการ
4. หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
โอลิว่า (Oliva, 1997) สรุปไว้ว่าหลักสูตร หมายถึง :
· สิ่งที่นำมาสอนในโรงเรียน
· ชุดของวิชา
· เนื้อหาวิชา
· โปรแกรมการเรียนของนักเรียน
· ชุดของวัสดุ
· ลำดับของรายวิชา
· ชุดของจุดประสงค์การปฏิบัติ
· รายวิชาที่เรียน
· เป็นทุกสิ่งที่ช่วยให้โรงเรียนก้าวหน้าไป
รวมถึงกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน การแนะแนว และ
สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
· ทุกๆสิ่งที่เป็นแผนงานของบุคลากรในโรงเรียน
· เป็นอนุกรมของประสบการณ์โดยผู้เรียนในโรงเรียน
· ประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคนที่เป็นผลจากการศึกษาเล่าเรียน
นอกจากนี้ ผศ. ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ ยังได้รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษา
และนักพัฒนาหลักสูตรของ
ต่างประเทศ
เกี่ยวกับความหมายของหลักสูตร นอกจากที่กล่าวมาแล้ว (มาเรียม นิลพันธุ์, 2543 : 6) ดังนี้
คาสเวลและแคมเบล (Caswell and Cambell, 1935 : 66) ได้ให้คำจำกัดความว่า หลักสูตรเป็นสิ่ง
ที่ประกอบด้วยประสบการณ์ทั้งมวลของเด็ก
ภายใต้การแนะแนวของครู
ไทเลอร์ (Tyler, 1949 : 79) ได้สรุปว่าหลักสูตร
เป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้
วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
ทาบา (Taba, 1962 : 11) ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่า หลักสูตรเป็นแผนการเกี่ยวกับ
การเรียนรู้
กู๊ด (Good, 1973 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ
1.หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา
เพื่อสำเร็จหรือรับ
ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2.หลักสูตร หมายถึง
เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัด
ให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3.หลักสูตร หมายถึง
กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การ
แนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
โอลิวา (Oliva, 1992 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์
บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้
1.การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าที่ที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไร
หรือมีลักษณะอย่างไรหลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น
ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ
การพัฒนาทักษะการคิดผู้เรียน เป็นต้น
2.การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของหลักสูตร
ในลักษณะนี้จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร
เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือหลักสูตรที่เน้นการปฏิรูปสังคม เป็นต้น
3.การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ
ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ
กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร
คือ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน
เป็นต้น
โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ
แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียน
และในทางปฏิบัติหลักสูตรประกอบด้วยจำนวนของแผนการต่าง ๆ
ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีขอบเขตกว้างหลากหลาย
เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (course) หรือเป็นรายวิชาย่อยต่าง
ๆ (sequence of courses) แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าวนี้อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอก
ชั้นเรียนหรือโรงเรียนก็ได้
ความเห็นของนักวิชาการไทย
นักวิชาการและนักการศึกษาในประเทศไทย ได้ให้คำจำกัดความของหลักสูตรไว้
ดังนี้
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2521 : 12)
ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ ข้อกำหนดที่ประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง
แนวทาง วิธีการ เนื้อหา วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการเรียนการสอน
ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล (2529
: 10-11) กล่าวว่าหลักสูตร
หมายถึง กิจกรรมหรือประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียน
สวัสดิ์ ประทุมราช และคณะ (2521 : 1) ให้ความหมายเกี่ยวกับหลักสูตรว่า
เป็นแผนหรือแนวทางของการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
ที่ชี้แนะให้ผู้บริหารการศึกษา ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ได้พยายามจัดสรรประสบการณ์ทั้งมวล
ตามที่หลักสูตรกำหนดให้แก่ผู้เรียนหรือเยาวชนในชาติได้พัฒนาตนเอง
ทั้งในด้านความรู้
ทักษะและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามจุดหมายของการจัดการศึกษาชาตินั่นเอง
มาเรียม นิลพันธุ์ (2543
: 6) หลักสูตร
หมายถึง เอกสารข้อกำหนดเกี่ยวกับมวลประสบการณ์
เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาไปในแนวทางที่ต้องการ
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล (2543
: 2) หลักสูตร หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ
หรือผ่านการยกร่างอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยรายละเอียดของหลักการ จุดหมาย
โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม แนวทางหรือวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ
การวัดผลและประเมินผล รวมทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
นิรมล ศตวุฒิ (2543
: 87) หลักสูตร หมายถึง
ประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดที่ผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้
ครอบคลุมตั้งแต่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
อันได้แก่ประสบการณ์เรียนรู้ที่กำหนดไว้ในจุดหมายของหลักสูตร
ประสบการณ์ในขั้นดำเนินการ อันได้แก่
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากเนื้อหาวิชา
และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นผลของการจัดการเรียนการสอนอันได้แก่ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับไปแล้ว
และจะนำไปใช้ต่อไปโดยสรุปผลที่ได้จากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการประเมินหลักสูตร
กาญจนา คุณารักษ์ (2553
: 38) หลักสูตรคือ
โครงการหรือแผน หรือข้อกำหนด อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง
กิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ในสังคม และในโลกอย่างมีคุณภาพและอย่างมีความสุข
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554:6) วิเคราะห์ความหมายของหลักสูตรซึ่งโอลิวา (Oliva,
2009:3) ให้ไว้ พบว่าความหมายที่แคบของหลักสูตรคือ วิชาที่สอน
ส่วนความหมายที่กว้างของหลักสูตรคือ มวลประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียน
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ธำรง บัวศรี (2542
: 7) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตร คือ
แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงจุดหมาย การจัดเนื้อหากิจกรรม
และประมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา
เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ตามจุดหมายที่กำหนดไว้
สุเทพ อ่วมเจริญ (2555:4) สรุปว่าหลักสูตร หมายถึง
ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้
สรุปความหมาย
“หลักสูตร”
จากความหมายข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า
หลักสูตร คือ โครงสร้างของเนื้อหาวิชา หรือประสบการณ์ต่าง ๆ
หรือศาสตร์ต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ
รวมทั้งการมีส่วนร่วมกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์
1.2 วิพากษ์/นิยาม ความหมายของหลักสูตร
การให้ความหมาย “หลักสูตร”ของนักการศึกษาต่างประเทศ
และนักการศึกษาไทยแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากคำว่า “หลักสูตร”มีความหมายกว้าง
และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรายวิชาที่อยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น
แต่มีความหมายที่หลากหลาย ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่อยู่นอกห้องเรียน
บ้างก็ว่าคือข้อกำหนด บ้างก็ว่าคือแผนงาน บ้างก็ว่าคือประสบการณ์
การให้คำนิยามดังกล่าวอยู่ที่ความเชื่อ ความเข้าใจ และมวลประสบการณ์เดิมของคนนั้นๆ
นอกจากนั้นก็ให้นิยามตามวิธีดำเนินการ กระบวนการ ยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่เทคนิค
วิธีจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมที่ 2 : ศึกษาประวัติการศึกษาของประเทศไทย แล้วนำมาวิเคราะห์ ตามประเด็นต่อไปนี้
2.1 ศึกษาประวัติการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของทฤษฎีหลักสูตร
แผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับแรกถึงปัจจุบัน
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยแต่ละคณะ ต่างก็ได้พยายามทำนุบำรุงและพัฒนาการศึกษาตลอดมา
และได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการศึกษาขึ้น ซึ่งนับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา
ได้มีการใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้
1. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2475
ในแผนการศึกษาฉบับนี้เน้นด้านการศึกษา 3 ส่วน
คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงามพุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา
เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
2. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479
แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผน ปี พ.ศ.2475 เนื่องจากว่าแผนการศึกษาฉบับปี พ.ศ. 2475 นั้น
มีระยะเวลาในการศึกษาสายสามัญ นานเกินสมควร คือต้องเรียนสายสามัญ 12 ปี และยังต้องเข้าเรียนต่อสายวิสามัญอีก แผนการศึกษาปี พ.ศ. 2479 นี้กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษาเพียง 4 ปี ทั้งนี้
เป็นเพราะต้องการเร่งรัดให้ประชาชนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับถึงกึ่งหนึ่งโดย
เร็วโดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัยมากขึ้น แต่ยังคงเน้นให้การศึกษาทั้ง 3 ด้าน
3. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494
ในแผนนี้ได้เพิ่ม หัตถกรรม คือการฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพเข้ามาอีกรวมเป็น 4ส่วน จึงเป็น “องค์สี่แห่งการศึกษา”
คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา
(ได้อิทธิพลปรัชญาการศึกษาแบบอเมริกัน) และได้มีการกล่าวถึงการศึกษาพิเศษ
และการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย แผนการศึกษาฉบับนี้ได้ยกฐานะกองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญศึกษาขึ้นเป็นกรมประชาบาลศึกษา
เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ
นอกจากนี้ยังมีความพยายามขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปีอีกด้วย
4. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503
แผนนี้ได้นำเอาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494 มาปรับปรุงใหม่
เพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคล โดยให้สอดคล้องกับการปกครองประเทศ
แผนฯนี้ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี
จัดเน้นให้การศึกษา 4 ส่วน และได้จัดระบบการศึกษา
เป็น 7:3:2 (ประถม 7 ปี
(ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 2 ปี) แผนนี้มีอายุการใช้ยาวนานที่สุดถึง 16 ปี
5. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2512
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความ ประกาศเรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ ความว่า
“การจัดให้มีสถานศึกษานั้น รัฐใช้วิธีแบ่งแยก คือ รัฐจัดเองบ้าง
และส่งเสริมให้คณะบุคคลหรือเอกชนจัดบ้าง”
6. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520
แผนนี้ต้องการปรับปรุงแผนการศึกษาให้สนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงในสังคม
เพื่อสามารถอบรมพลเมืองให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
จัดระบบการศึกษาเป็น 6:3:3 โดยได้ลดชั้นประถมลง 1 ปี และเพิ่มชั้นมัธยมปลาย 1 ปี
เท่าระบบปัจจุบัน แต่เวลาเรียนยังเป็น 12 ปี
แผนการศึกษาฉบับนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นพิเศษ อีกด้วย
แผนการศึกษาแห่งชาติ 2520 นี้
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารประถมศึกษาครั้งใหญ่
7. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535
แผนนี้ได้ปรับปรุงมาจากแผนการศึกษา พ.ศ.2520 เพื่อให้ระบบการศึกษาสนองตอบความต้องการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน
สังคมไทยอย่างรวดเร็ว และสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการศึกษาในระบบ 6:3:3 โดยมุ่งจัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้านอย่างสมดุลและกลมกลืนกัน คือ ด้านปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย
และด้านสังคม ตลอดจนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและสามารถพึ่งตนเองได้
8. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559
เรื่องสำคัญที่ครูทุกคนจำได้ในแผนนี้ คือสอนให้นักเรียน เก่ง ดี มีสุข
วัตถุประสงค์ 1 : พัฒนาคนอย่างรอบด้าน
และสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 1 : การพัฒนาทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการ
เรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 2 : การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตาม
ศักยภาพ
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 3 : การปลูกฝังและเสริมสร้าง
ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 4 : การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเอง
และเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ
วัตถุประสงค์ 2 : สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม
ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
แนวนโยบาย เพื่อดำเนินการ 5 : การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้
ความคิด ความ
ประพฤติ และคุณธรรมของคน
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 6 : การส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้ของสังคมไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 7 : การสร้างสรรค์
ประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้ภูมิปัญญา
และการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ 3 : เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน
และสร้างสังคม
คุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 8 : การส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคม
วัฒนธรรม ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม บนฐานของศาสนาภูมิปัญญาท้องถิ่น/ไทย
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 9
: การจำกัด ลด
ขจัดปัญหาทางโครงสร้างที่ก่อให้เกิดและ/หรือคงไว้ซึ่ง ความยากจน ขัดสน
ด้อยทั้งโอกาสและศักดิ์ศรีของคนและสังคมไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
แนวนโยบายเพื่อดำเนินการ 10 : การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ
แนวนโยบายเพื่อดำเนิน การ 11 : การจัดระบบทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา
ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย
9. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2
เป็นการปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559 ที่ใช้มาแล้วครึ่งทางและยังเหลือระยะเวลาอีก
กว่า 7 ปี
สาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 -
2559)
ปัจจุบันแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
แต่เนื่องจากแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับเดิม (พ.ศ. 2545 - 2559) นั้น เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงเห็นควรให้คงปรัชญาหลัก เจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์ของแผนฉบับเดิมไว้
แล้วปรับปรุงในส่วนของนโยบายเป้าหมาย
และกรอบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ปรัชญาหลักและกรอบแนว
การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559) ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล
มีความรอบรู้ เท่าทันโลก
เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
เกิดการบูรณาการแบบองค์รวม ที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เจตนารมณ์ของแผน
แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่ง
(1) พัฒนาชีวิตให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” และ
(2) พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
วัตถุประสงค์ของแผน
เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552
-2559) จึงกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
2. เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม
ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน
และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
แนวนโยบาย เป้าหมาย และกรอบการดำเนินงาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสามประการดังกล่าว
ประกอบกับการคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็น
ฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กำหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
วัตถุประสงค์ 1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาแนวนโยบาย
1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
มีจิตสำนึกและมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ
คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส
เข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ
ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ทุรกันดาร
1.4 ผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานมีคุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ 2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม
ภูมิปัญญาและการเรียนรู้แนวนโยบาย
2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา
และสถาบันทางสังคมทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศรัย
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
ศิลปวัฒนธรรม พลศึกษา กีฬาเป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา
พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม
เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แนวนโยบาย
3.1 พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
โดยเร่งรัดกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม
และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหารจัดการ
และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา
พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ
เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา
และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
ตลอดจนคำนึงถึงความสอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาดำเนินงานบริหารแผนสู่การปฏิบัติเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 แผนงานรีบด่วน ระหว่างปี 2552
- 2554 ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
โดยให้มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ 1) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2) แผนขยายโอกาสทางการศึกษา และ
3) แผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา
รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2552 -
2559 ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง 14 ด้านให้บรรลุผลตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ
เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมทั้งการเตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป
นอกจากนี้ ให้มีการจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลา 5 ปี เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวม
และแผนพัฒนาการศึกษาแต่ละระดับ/ประเภทการศึกษา
ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นต้น
ในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
และในระดับเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา
ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรมีหน้าที่ ดังนี้
1. บรรยาย (Description)
การบรรยาย เป็นการบอกเล่าเกี่ยวกับ การจัดหมวดหมู่
หรือจัดจำแนกประเภทของความรู้ ที่มีรายละเอียดตามทฤษฎี ซึ่งมีการปรับแต่งโครงสร้าง
ด้วยการแปลความหมายของแต่ละคน ที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมที่สามารถปรับได้
โดยสรุปเป็นการจัดการ และสรุปความรู้
2. ทำนาย (Prediction)
การทำนาย ทฤษฎีสามารถทำนายเหตุการณ์ ทั้งที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิด
ทั้งนี้อาศัยพื้นฐาน หลักการอธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน
บางครั้งการทำนายเป็นการทำหน้าที่ของทฤษฎีที่อยู่เหนือความคาดหมาย
3. อธิบาย (Explanation)
การอธิบาย คำว่า “ทำไม” ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์
แต่ไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ทั้งสิ่งที่ชัดแจ้ง หรือสิ่งที่แฝงอยู่
ที่เป็นเหตุผลในสัมพันธภาพนั้น
4. แนะแนว (Guidanc
ทฤษฎี ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับการแนะแนว ทฤษฎีช่วยนักวิจัยเลือกข้อมูล
เพื่อการวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูล ทฤษฎีจึงส่งเสริมการค้นคว้าต่อเนื่อง
2.2 วิเคราะห์ พระราชบัญญัติการศึกษาของประเทศไทย กับทฤษฎีหลักสูตร
พ.ร.บ.การศึกษาของประเทศไทย
|
ทฤษฎีหลักสูตร
|
1.
เกิดจากการศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นโยบายปฏิรูประบบราชการ
|
1. อธิบายตามความเป็นจริง
เห็นความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงต่างๆ กฎ
หรือสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ในเชิงระบบ
|
2. เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ผู้สนองพระบรมราชโองการ คือนายกรัฐมนตรี
|
2. ได้มาจากการศึกษาวิจัย
หรือการคิดแบบอุปนัย หรือ นิรนัย
|
3. ร่างโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ผ่านการประชาพิจารณ์
|
3. ได้มาจากหลายสาขาวิชา
เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา
และปรัชญา
|
4. บัญญัติไว้เป็นหมวด
เพื่อให้บุคคล องค์กร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องยึดถือ และปฏิบัติตาม เช่น
หมวด 1บททั่วไป หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา หมวด3 ระบบการศึกษา
เป็นต้น
|
4. การสร้างทฤษฎี
ต้องอาศัยระเบียบวิธีวิจัย การตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน การยืนยันข้อมูล
|
|
5. ทฤษฎีเป็นความสัมพันธ์ของสัญลักษณ์
ข้อเท็จจริง หรือถ้อยคำที่สามารถจัดจำแนกเป็นมโนทัศน์หลัก และหลักการทั่วไป
|
|
6. เป็นหลักการ กฎเกณฑ์
เกี่ยวข้องกับการศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นและการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลักสูตร
|
กิจกรรมที่ 3 : การเลือกแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หรือหลักสูตรตามความสนใจ ตามประเด็นต่อไปนี้
3.1 ศึกษาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
และเลือกมาใช้พัฒนาหลักสูตร
เลือกแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ดังนี้
1. แหล่งข้อมูล
- จากการศึกษา
- จากมาตรฐานการเรียนรู้
- จากการสัมภาษณ์บุคคล(ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
2. กำหนดวัตถุประสงค์(ฉบับร่าง)
3. กลั่นกรอง
4.จุดประสงค์ของหลักสูตร
5. เลือกประสบการณ์การเรียนรู้(กำหนดเนื้อหาในแต่ละหน่วยการจัดการเรียนรู้/แผน)
6.การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้(การจัดการเรียนการสอนตามแผน)
7.การประเมิน(ประเมินหลักสูตร
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน)
3.2 เขียนแผนผังมโนทัศน์กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ด้วยการอุปมาอุปมัย อาทิ
การพัฒนาหลักสูตรเปรียบเสมือน... (ผู้เรียนเสนอแนวคิดเปรียบเทียบ)
หลักสูตรก็เปรียบได้กับรถยนต์ ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ รถผลิตในประเทศ
รถนำเข้าจากต่างประเทศ เล็กบ้างใหญ่บ้าง มีทั้งเก่าและใหม่
บางคนก็แสวงหารถใหม่มาใช้ แต่บางคนก็ยังอนุรักษ์ของเก่าอยู่ แต่บางคนก็มี
ทั้งสองอย่าง เลือกใช้ตามภารกิจและตามความพอใจ คือวิ่งระยะใกล้-ระยะไกล
วิ่งนอกเมือง-ในเมือง สำหรับไปงานพิธีการหรือส่วนตัว
ซึ่งก็เช่นเดียวกับความหมายของหลักสูตรที่มีความหลากหลาย
มีทั้งหลักสูตรในระบบโรงเรียน-นอกระบบโรงเรียน อาจเป็นรายวิชา เป็นหน่วย
เป็นแผนการ หรือโครงการ ซึ่งผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ จะเลือกใช้แบบใดก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย
หรือวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ
ภายในหลักสูตรยังประกอบไปด้วยรายละเอียดของโครงสร้างหลักสูตร เช่น หลักการ จุดหมาย
โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการ เป็นต้น เช่นเดียวกับรถยนต์ซึ่งมีชิ้นส่วนต่างๆ
ประกอบกันเข้าเป็นตัวรถ และทุกชิ้นส่วนล้วนมีความสำคัญที่ประกอบเข้ากันตามขั้นตอน
หรือเป็นระบบ และรถยนต์จะวิ่งไปไม่ได้ถ้าปราศจากคนขับ และไม่มีถนน
เช่นเดียวกับหลักสูตรจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ หรือผู้ปฏิบัติ
ถึงแม้หลักสูตรจะดีอย่างไร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่เข้าใจ ใช้ได้ไม่ดีไม่ถูกต้อง
ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมไม่บรรลุเป้าหมาย รถยนต์ต้องวิ่งไปตามเส้นทาง
เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ หัวใจสำคัญคือ คนขับ
ระหว่างทางอาจเจอสภาพปัญหามากมาย เช่นทางแคบ ทางโค้ง ฝนตก ถนนลื่น
เช่นเดียวกับผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ ต่างก็พบปัญหาและอุปสรรคมากมาย
เช่นความไม่ชัดเจนของตัวหลักสูตร ความไม่เข้าใจของตัวครู ความไม่สนใจของนักเรียน
ความไม่ใส่ใจของผู้บริหาร ขาดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
3.3 ระบุองค์ประกอบของ “หลักสูตร” ที่พัฒนาขึ้นตามความสนใจ
1. วิสัยทัศน์ (Vision)
2. พันธกิจ (Mission)
3. จุดหมาย
4. เป้าหมาย
5. คุณภาพผู้เรียน
6. โครงสร้างเนื้อหา
7. การจัดการเรียนการสอน
8. สื่อการเรียนรู้
9. การวัดและประเมินผล
กิจกรรมที่ 4 : ฝึกปฏิบัติ “การวางแผนพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21” ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามสาขาวิชาเอก
หรือตามความสนใจ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้เรื่อง “สี่เสาหลักการศึกษา” คุณลักษณะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 -3 R’s x 7 C’s และ “การศึกษามาตรฐานสากล”
หลักสูตรที่จะนำมาวางแผน คือ หลักสูตรสาระการเรียนรู้ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ โดยดำเนินการตามแนวทางการวางแผนหลักสูตรของ
ฮาร์เด็น (Harden.1986) ได้ 7 ข้อ ดังนี้
1. ความต้องการจำเป็นของหลักสูตร
หรือโปรแกรมการศึกษาที่จะต้องได้รับการตอบสนอง
ความต้องการจำเป็นในการจัดทำหลักสูตรสาระการเรียนรู้ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่าง ๆ เกิดจากเหตุผล คือ ความจำเป็นตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551 ที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
เกี่ยวกับเรื่องการปฎิบัติตนกับศาสนาต่าง ๆ
2. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดว่าจะให้เกิดขึ้น
ตารางแสดงหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ (รวม 1 ชั่วโมง)
1. ครูสอบถามผู้เรียนเกี่ยวกับหลักปฎิบัติตนในศาสนาต่างๆที่นักเรียนรู้
2. ให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆที่นักเรียนต้องการรู้
3. ครูบรรยายเรื่องเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
โดยใช้ ป้ายนิเทศเรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่าง ๆ
4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ
5-6 คน
ครูถามคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆว่าเหมาะสม/ไม่เหมาะสม อย่างไร
5. ถ้านักเรียนกลุ่มใดต้องการตอบคำถามในข้อนี้ให้ยกป้ายเลขกลุ่ม
หากตอบถูกจะได้รับคะแนน 1 คะแนน หากตอบผิด
จะหมดสิทธิ์ตอบในข้อนั้น
6. เมื่อครูถามคำถามหมดทุกคำถาม
ให้แต่ละกลุ่มรวมคะแนน กลุ่มใดได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
และได้รับรางวัลจากครูผู้สอน
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
8. ครูสรุปความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
9. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ
เรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
10. ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจแบบทดสอบเรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
3. ขอบข่ายเนื้อหาสาระของหลักสูตร
ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ทำความดี
ละเว้นความชั่ว ในประเทศไทยมีประชาชนที่นับถือ
พระพุทธศาสนาส่วนใหญ่
และก็มีผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลามเป็นจำนวนหนึ่ง การอยู่ร่วมกันใน
สังคมไทยอย่างสงบสุขนั้น
ศาสนิกชนทุกคนต้องเรียนรู้ศาสนาที่ตนนับถือให้เข้าใจลึกซึ้งและปฏิบัติตนตาม
หลักคำสอนของศาสนาที่นับถือ
ทั้งในแง่หลักคำสอนและพิธีกรรม เพื่อจะได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในความ
เชื่อและ
สิ่งเคารพของศาสนาอื่น ทำให้ไม่เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น
4. กลยุทธ์การศึกษาที่นำมาใช้ในการสอน
กลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการสอน คือ การเลือกใช้เกมส์ เพื่อสร้างความน่าสนใจ
และกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในชั่วโมงเรียนเพิ่มขึ้น
5. วิธีสอนที่นำมาใช้ในการสอน
เทคนิค
K-W-L
Learning Technigue ( Know-Want-Learned Learning Technigue )
เป็นเทคนิคการสอนที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงประสบการณ์
เดิมกับประสบการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ การจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ สามารถพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้คิดนอกกรอบ
ไม่ยึดติดกับการค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือแบบเรียนเพียงอย่างเดียว
เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
6. การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้และการสอน
การวัดประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เพราะจะช่วยให้เห็นพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน
ดังนี้
1) วัดและประเมินผลหลังเรียน จากแบบทดสอบเรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กิจกรรมที่ 5 : ฝึกปฏิบัติการออกแบบหลักสูตร
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามสาขาวิชาเอก หรือตามความสนใจ ตามประเด็นต่อไปนี้
1. เขียนปรัชญา หรือปณิธาน หรือวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าหมาย(Target) ที่เป็นเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันการศึกษา
ปรัชญา
การพัฒนาบุคคลให้เจริญงอกงาม
และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข จะเกิดขึ้นได้โดยจัดการศึกษา
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ และทักษะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ตลอดจนมีจิตสำนึก ในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
วิสัยทัศน์
มุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยความรู้และคุณธรรม
โดยมีความรู้ ความเข้าใจหลักธรรมคำสอนทางศาสนา
และนำมาปฏิบัติได้เพื่อการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมที่หลากหลายชาติพันธุ์ได้อย่างมีความสุข
พันธกิจ
1. พัฒนาวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านศาสนาให้สอดคล้องกับสังคมภายในประเทศ
2. พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม
จริยธรรม ตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ
3. พัฒนาผู้เรียนให้ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนา
เป้าหมาย
1. มีคุณธรรม จริยธรรมและ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
หรือศาสนาที่ตนเองนับถือ
2. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีน้ำใจต่อผู้คนรอบข้าง
2. เขียนแผนผังเชื่อมโยง สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สนับสนุนซึ่งกันและกัน
กิจกรรมที่ 6 : ฝึกปฏิบัติการออกแบบหลักสูตร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามสาขาวิชาเอก
หรือตามความสนใจ ตามประเด็นต่อไปนี้
1. ระบุจุดหมาย (Aim) จุดมุ่งหมาย (Goal) จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดหมาย
1. การเข้าความแตกต่างทางชาติพันธุ์
และการอยู่ร่วมกันภายในสังคม
จุดมุ่งหมาย
2.
เพื่อให้รู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
อันนำมาสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
2. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการ ปฏิบัติตนทางศาสนา
3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
2. ระบุสมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการปฏิบัติ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
2. เขียนแผนผังการพัฒนามโนทัศน์หลัก และมโนทัศน์รอง
มโนทัศน์หลักและมโนทัศน์รอง
วิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้
|
|
การปฎิบัติตนตามสถานการณ์ต่าง
ๆ
|
|
กิจกรรมที่ 7: ฝึกปฏิบัติการ
ออกแบบหลักสูตร และการสอน ตามประเด็นต่อไปนี้
1.
ศึกษาแนวคิดการจัดหลักสูตร รูปแบบต่างๆ
แนวคิดการจัดหลักสูตร ได้แก่
แกลทธอน (Glatthorn, 2009) การจัดระบบหลักสูตร
หรือการจัดการหลักสูตร มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ประกอบด้วย
1) การนิเทศหลักสูตร (Supervising the Curriculum)
2) การพัฒนาหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้ (Development and
Implement)
3) การจัดลำดับเนื้อหาหลักสูตร (Aligning the Curriculum)
4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
ออร์นสไตน์ และฮันกิน (Ornstein and Hunkins, 1993 : 233) การจัดระบบหลักสูตร(Curriculum Organization) หมายถึง
การจัดโครงสร้างของส่วนประกอบ ของหลักสูตร 4 ส่วน
คือ เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาสาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล
เฮนเสน (Hensen, 2001 : 199-201) การจัดระบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพัฒนา 6ประการ คือ
1. การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร
ขอบข่ายของหลักสูตร (Scope) หมายถึง
การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม
หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร แต่ละระดับชั้น
การจัดหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องในแนวนอน ที่เรียกว่า horizontal
organizationดังนี้
1) วุฒิภาวะ ประสบการณ์ และความสามารถของผู้เรียน
2) ความยากง่ายของธรรมชาติในสาขาวิชา หรือเนื้อหาวิชา
3) ความทันสมัย และความเป็นสากลของเนื้อหาวิชา
4) ความสมดุลระหว่างความกว้าง ความลึกของเนื้อหาวิชา
5) คุณค่าของเนื้อหา ที่ผู้เรียนจะนำไปใช้
2. การจัดลำดับการเรียนรู้
การจัดลำดับการเรียนรู้ (sequence) หมายถึง
การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นที่สำคัญต่างๆ
ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดลำดับการเรียนรู้ จึงเป็นมิติของการจัดหลักสูตร ให้มีความต่อเนื่องในแนวตั้ง
ที่เรียกว่า vertical organization การจัดลำดับการเรียนรู้
1) การจัดลำดับการเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากและซับซ้อน
2) การจัดลำดับการเรียนรู้ จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว
3) การจัดลำดับการเรียนรู้ จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม
4) การจัดลำดับการเรียนรู้ จากสิ่งที่เป็นส่วนรวมไปสู่ส่วนย่อย
หรือจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนรวม
5) การจัดลำดับการเรียนรู้ ตามลำดับความจำเป็น ที่ต้องเรียนก่อน-หลัง
6) การจัดลำดับการเรียนรู้ ตามลำดับเหตุการณ์ หรือตามกาลเวลา
3. ความต่อเนื่อง
ความต่อเนื่องของหลักสูตร (continuity) หมายถึง
การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่าย และลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว
ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง
การจัดหลักสูตรที่ดี ควรคำนึงถึง
ความสอดคล้องเชื่อมโยง (articulation) ให้มีความต่อเนื่องกันของเนื้อหา
ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน ทั้งมิติในแนวตั้ง
และแนวนอน
5. การบูรณาการ
การบูรณาการ (integration) เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหา
และประสบการณ์การเรียนรู้ ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในแนวนอน
จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่ง ของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่ง
ไปยังอีกรายวิชาหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6. ความสมดุล
หลักสูตรที่ดี นอกจากจะต้องคำนึงถึง การจัดขอบข่ายเนื้อหา
และมีลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณา ด้านความสมดุลของเนื้อหา (balance) ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ
ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระ กับวุฒิภาวะของผู้เรียน
2. ศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสอน
แบบวิจัยเป็นฐาน และการสอนตามแนวคอนสตรัค
เปรียบเทียบขั้นตอนการสอนแบบวิจัยเป็นฐาน
และแบบคอนสตรัค
แบบวิจัยเป็นฐาน
|
แบบคอนสตรัค
|
ขั้นที่ 1 กำหนดจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
|
ขั้นที่ 1 การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง ผู้เรียนนั้นจะมีความคิดดั้งเดิม
จึงต้องชักชวนให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนมโนทัศน์และยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
กลยุทธ์สำหรับขั้นที่ 1
· สัมภาษณ์ หรืออภิปรายกลุ่ม
· แบ่งกลุ่มข้อมูล – เรียงลำดับข้อมูลตามลักษณะบางประการ
จำแนกข้อมูล – จัดกลุ่มวัตถุโดยใช้ลักษณะทางคุณภาพหรือปริมาณ
· แผนผังมโนทัศน์ – ระดมสมองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก
· เหตุการณ์ที่ขัดแย้ง – เหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล
|
ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละหน่วย และ แต่ละบทเรียน
|
ขั้นที่ 2 การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
การวางแผนแบบร่วมกัน : การวางแผนเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง
· ผู้เรียนได้รับข้อมูลว่าจะต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้าง
อภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเรียนรู้ : หาขอบข่ายสาระสำคัญในเรื่องที่เรียนรู้
กลยุทธ์สำหรับขั้นที่ 2
· นักจัดการขั้นสูง – ข้อมูลใหม่เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร
· การรู้คิด – ผู้เรียนกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ดัวยตนเอง
· เทคนิควิทยาศาสตร์
- ใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบคำอธิบาย
- ตัดสินใจด้วยตนเอง
- ปรัชญาส่วนบุคคล การใช้ความคิดอุปมาอุปมัย
- ใช้แนวคิดที่คุ้นเคยนำแนวคิดอุปมาอุปมัยมาใช้
|
ขั้นที่ 3 พัฒนาแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้
- ออกแบบกลวิธีการสอน
- กำหนดคุณลักษณะเฉพาะเครื่องมือประเมิน
- การออกแบบ หรือเลือกเครื่องมือประเมิน
|
ขั้นที่ 3 การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ : ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้น
จากการมีสัมพันธ์ทางสังคม
· ความรู้ถูกทำให้กระจ่างและยืนยันความถูกต้อง
เมื่อผู้เรียนนำความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์
· ความรู้ที่ได้รับจะถูกปรับแต่งตามข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับ
กลยุทธ์สำหรับขั้นที่ 3
· การเรียนรู้แบบร่วมมือ สร้างและออกแบบโมเดล
· การทดลอง/ออกแบบและเทคโนโลยี:ใช้สืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน
· วิธีการแบบบูรณาการ:สร้างความเชื่อมโยงหัวข้อคำถามกับแนวคิดอื่น
· สาขาวิชา(แนวคิดหลัก): ประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงสอดคล้อง
|
ขั้นที่ 4 การเรียนการสอน/การเรียนรู้
1. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
2. การวางแผนการเรียนรู้
3. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
4. การสรุป/การวิพากษ์ความรู้
5. การประเมินการเรียนรู้
|
|
ขั้นที่ 5 การประเมินการเรียนรู้
- ประเมินระหว่างสอน
- ประเมินหลังสอน
|
|
3. นำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สนใจ
แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ ศาสนากับสังคม มัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ เวลา 1
ชั่วโมง
สาระ/สำคัญความคิดรวบยอด
การเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในแต่ละศาสนา
เพื่อให้รู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
อันนำมาสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.
นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
2. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการปฏิบัติตนทางศาสนา
3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
สาระการเรียนรู้
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการปฏิบัติ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
ชิ้นงาน
ภาระงาน :
อภิปรายกลุ่ม
เรื่องความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
การวัดและประเมินผล
ประเด็นการประเมิน
|
วิธีการวัด
|
เครื่องมือที่ใช้วัด
|
เกณฑ์การประเมิน
|
1. นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
|
ทำแบบทดสอบ
|
แบบทดสอบ
|
นักเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆที่ถูกต้องและเหมาะสม
|
2. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการปฏิบัติตนทางศาสนา
|
กิจกรรม
|
สถานการณ์สมมติ
|
นักเรียนบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการปฏิบัติตนทางศาสนา
|
3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
|
อภิปรายกลุ่ม
|
แบบประเมินกิจกรรมกลุ่ม
|
นักเรียนวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆได้
|
4. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความมีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน
|
สังเกตพฤติกรรม
|
แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
|
นักเรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือ มีระเบียบวินัยในตนเอง
ทำงานส่งตรงเวลา มีความใฝ่เรียนรู้ในการเรียน และมุ่งมั่นทำงานที่ได้รับมอบหมาย
|
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทักทายนักเรียน
2. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการนำบัตรภาพ
เรื่อง ความแตกต่างของแต่ละศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละศาสนา
ขั้นสอน
1. ครูสอบถามผู้เรียนเกี่ยวกับหลักปฎิบัติตนในศาสนาต่างๆที่นักเรียนรู้
2. ให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆที่นักเรียนต้องการรู้
3. ครูบรรยายเรื่องเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
โดยใช้ ป้ายนิเทศเรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5-6
คน ครูถามคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆว่าเหมาะสม/ไม่เหมาะสม อย่างไร
5. ถ้านักเรียนกลุ่มใดต้องการตอบคำถามในข้อนี้ให้ยกป้ายเลขกลุ่ม
หากตอบถูกจะได้รับคะแนน 1 คะแนน หากตอบผิด
จะหมดสิทธิ์ตอบในข้อนั้น
6. เมื่อครูถามคำถามหมดทุกคำถาม
ให้แต่ละกลุ่มรวมคะแนน กลุ่มใดได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
และได้รับรางวัลจากครูผู้สอน
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
8. ครูสรุปความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
9. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
10.
ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจแบบทดสอบเรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
ขั้นสรุป
11. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
12. ครูให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
1. บัตรภาพ เรื่อง
ความแตกต่างของแต่ละศาสนา
2. ป้ายนิเทศเรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
3. แบบทดสอบเรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
กิจกรรมที่ 8 : ฝึกปฏิบัติการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ตามประเด็นต่อไปนี้
1. ศึกษาแนวคิด
การจัดการเรียนการสอน หรือจัดการเรียนรู้
คาลวิล สมิธ และคณะ (Dr Calvin Smith, Dr Duncan Nulty, Ms
Mandy Lupton and Dr Heather Alexander.) ได้กำหนดแนวทางในการเรียนรู้และการสอน
ดังนี้
1. สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียน ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจ
และมีแรงกระตุ้นปัญญา
2. ส่งเสริม สนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหา
และตั้งคำถาม อย่างมีวิจารณญาณ และส่งเสริมการสรรค์สร้าง อย่างมีความคิดสร้างสรรค์
โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
3. เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยง และการบูรณาการ ทฤษฎีและองค์ความรู้
ด้วยการปฏิบัติการอย่างเป็นมืออาชีพ เพื่อพัฒนาให้กับการแก้ปัญหา
ที่นำไปใช้ได้จริง
4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ ที่พัฒนาความสามารถ ระหว่างวัฒนธรรม
ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านสังคม และการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
5. คุณค่าและความทรงจำ ของแต่ละบุคคล และวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบท
ของการสนับสนุน และเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
6. การเพิ่มการมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ของผู้เรียน
มีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร การสอน และ กลยุทธ์ของการประเมิน
7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาวิชาชีพ และการสะท้อนความคิด
ให้สารสนเทศ ด้วยการประยุกต์แนวคิดของการวัดประเมินผล
ทิศนา แขมมณี (2545 : 472) ได้ให้ความเห็นว่า
ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึง
ความรู้เกี่ยวกับ การเรียนรู้และการสอน ที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียน
สามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย/จุดประสงค์ ของการสอนที่กำหนด
ความรู้ดังกล่าวได้มาจากการคิด วิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลาย
หรือได้มาจากการศึกษาค้นคว้า พิสูจน์ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ของนักจิตวิทยา และนักการศึกษาต่างๆ ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา
บริบททางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค
และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและออกแบบ การจัดการเรียนการสอน
การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อเทคโนโลยีทางการสอน
นวัตกรรมและการวิจัยการเรียนการสอน เป็นต้น
ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง
ความรู้ความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆไปใช้ในการสอน
เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย
สะดวก รวดเร็ว และมีความสุข
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541 :
181-182) กล่าวว่า การสอนเป็นศิลปะและศาสตร์อย่างหนึ่ง
เนื่องจากงานของผู้สอนนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ถ่ายทอดข้อมูล หรือแม้กระทั่งความรู้เท่านั้น
แต่ผู้สอนจะต้องนำเสนอความรู้ ในลักษณะของการเสนอปัญหา ในบริบทใดบริบทหนึ่ง
และเสนอปัญหาต่างๆอย่างถูกต้อง เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถนำวิธีแก้ปัญหานั้น
ไปใช้กับเรื่องอื่นๆได้ต่อไป
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2541
: 107-122) สรุปไว้ว่า การศึกษาตลอดชีวิต อาศัยหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
1. การเรียนเพื่อรู้ คือการฝึกฝน ให้รู้วิธีที่จะเข้าใจ
การเรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง เพื่อจะได้สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่แวดล้อมเราอยู่
3. การเรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกัน เพื่อสามารถมีส่วนร่วม
และร่วมมือกับผู้อื่น ในกิจการทั้งปวงของมวลมนุษย์
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต เพื่อที่จะพัฒนามนุษย์ ให้เป็นบุคคลที่เพียบพร้อม
เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต
โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004 : 4) กล่าวว่า
การที่จะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ
มีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการ คือ
1. ความรู้ (Knowledge) ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้
ในเนื้อหาสาระในวิชาที่สอน
2. สิ่งแวดล้อม (Environment) ผู้สอนจำเป็นต้องมีเครื่องมือ
ที่ช่วยส่งผ่านเนื้อหาสาระ ที่จะช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจบทบาทได้ดีขึ้น
3. ทักษะที่เกี่ยวข้อง (Involvement Skills) ผู้สอนจำเป็นต้องรู้จักผู้เรียน
อย่างน้อยจะต้องรู้จักชื่อ รู้จักว่าผู้เรียนมาจากไหน และควรให้ผู้เรียนแนะนำตนเองก่อนเรียน
ผู้สอนควรถามตนเองว่ารู้จักผู้เรียนดีพอแล้วหรือไม่
ดิค และแคเรย์ (Dick & Carey, 2004 : 4) เสนอแนวคิดไว้ว่า กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน
2. การนำเสนอสารสนเทศในการเรียนรู้
3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. การทดสอบ
5. การติดตามผล
มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ,
ผู้แปล, 2547 : 170) ได้เสนอรูปแบบการสอนเป็นมิติการเรียนรู้ (dimension
of learning) ที่ช่วยให้ครูผู้สอน มีโครงสร้างเกี่ยวกับ
วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้มิติของการคิดมิติต่างๆ 5 มิติ
มิติที่ 1 เจตคติและการรับรู้ (Attitude
and Perception) ภาระงานการออกแบบ หลักสูตรการเรียนรู้
ต้องมีเป้าหมาย สร้างเจตคติที่ดี และการรับรู้เชิงบวกต่อการเรียนรู้
เพราะทั้งเจตคติและการรับรู้ มีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้
มิติที่ 2 การแสวงหาความรู้
และการบูรณาการความรู้ (Acquire and Integrate Knowledge)ภาระงานออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ ต้องมุ่งช่วยให้ผู้เรียน
สามารถโยงความรู้ใหม่ เข้ากับความรู้เดิม จัดระบบข้อมูล ได้อย่างมีเป้าหมาย
และสร้างให้เกิดความจำในระยะยาว (long term memory) ในการเรียนรู้ทักษะกระบวนการใหม่
ผู้เรียนต้องเรียนรู้รูปแบบ/ลำดับขั้นก่อน จากนั้นฝึกทักษะตามขั้นตอน
หรือกระบวนการเพื่อทำให้เป็น และท้ายที่สุด
ฝึกฝนทักษะกระบวนการเหล่านั้นเพื่อให้ทำได้อย่างคล่องแคล่ว
มิติที่ 3 การขยายและปรับแต่งความรู้ (extend
and refine knowledge) การเรียนรู้เพื่อให้รู้ลึกรู้จริง
ในสิ่งที่เรียนต้องไม่หยุด อยู่เพียงมิติที่ 2 แต่จ้องให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งด้วยกระบวนการแตกหน่อ ต่อยอด
และปรับแต่งความรู้ให้รู้จริงยิ่งขึ้น ภาระงานที่ออกแบบ จึงต้องมีจุดมุ่งหมาย
ในการช่วยให้ผู้เรียน ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และเชื่อมโยงกับระดับความคิดที่สูงขึ้น
โดยได้ทำกิจกรรมอย่างจริงจัง ในการใช้ความคิด ใช้ความเป็นเหตุเป็นผ
มิติที่ 4 การใช้ความรู้อย่างมีความหมาย (use
knowledge meaningfully) การเรียนรู้ที่บังเกิดผลสูงสุด
จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ในการปฏิบัติภาระงาน ที่มีความหมายต่อตน
มิใช่เรียนโดยไร้ความหมาย การเรียนรู้ที่จะทำให้มีความหมาย จะต้องมีการวางแผน
ออกแบบ ภาระงานให้ผู้เรียน ได้ผ่านกระบวนการคิด ที่มั่นใจว่าผู้เรียน
ได้ใช้ความรู้นั้นอย่างเกิดผล
มิติที่ 5 จิตนักคิด (productive
habits of mind) นักคิดจะมีนิสัย รักการสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ
และรู้จักระบบควบคุมพฤติกรรมของตน ภาระงานการเรียนรู้ ต้องร่วมสร้างผู้เรียน
ให้มีนิสัยนักคิดเหล่านี้
มิติการเรียนรู้ทั้ง 5 นี้
มิได้เกิดเป็นลำดับขั้น แต่เป็นการสนับสนุนกันและกัน กล่าวคือ
จะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ ผู้เรียนต้องคงความมีเจตคติที่ดีตลอด
เมื่อผู้เรียนมีเจตคติที่ดี (มิติที่ 1) ย่อมอยากเรียน
การเรียนรู้ก็จะง่ายขึ้น และถ้ามีจิตนักคิด (มิติที่ 5) ก็จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ฉะนั้นมิติที่ 1 และมิติที่ 5 จึงเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการคิดที่ต้องการในมิติที่ 2, 3 และ 4 นอกจากนี้การคิดในมิติที่ 2,3 และ 4 เป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กัน
ไม่ได้เป็นทักษะการคิดที่แยกส่วน หรือเป็นลำดับต่อเนื่องกัน
แต่สามารถเกิดในช่วงการเรียนรู้ ในเวลาเดียวกันได้
มาซาโน (Robert J. Marzano, ดารณี ภุมวรรณ,
ผู้แปล. 2547 : 170) เสนอกลวิธีการสอน
ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. การระบุความเหมือนและความแตกต่าง
2. การสรุปความ และการจดบันทึกย่อ
3. การเสริมแรงความเพียรพยายาม และการยอมรับ
4. การบ้านและการฝึกปฏิบัติ
5. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้ภาษา
6. การเรียนรู้แบบร่วมมือ
7. การกำหนดวัตถุประสงค์ และการให้ผลย้อนกลับ
8. การตั้งสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
9. คำถาม ตัวแนะและโครงสร้างความคิด ก่อนการเรียนการสอน
2. ศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนการสอนโดยตรง
และการสอนตามความสนใจ
เปรียบเทียบการสอนโดยตรง
และการสอนตามความสนใจ
การสอนโดยตรง
|
การสอนตามความสนใจ
|
การเรียนการสอนโดยตรง (Direct Instruction Methods)
ผู้สอนเป็นผู้ควบคุมจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน
การเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน และกำหนดอัตราการพัฒนา
ในการเรียนการสอน ในแต่ละตอนได้
- ผู้เรียนเรียนรู้เป็นลำดับ
จากชุดของสื่อการเรียนรู้ หรือภาระงานภายใต้การนิเทศงาน ของครูผู้สอนโดยตรง
การสอนโดยตรงควรนำมาใช้
เมื่อมีความต้องการ ดังนี้
1. การเรียนรู้ทักษะ และสารสนเทศโดยเฉพาะ
2. การเรียนการสอนต้องการให้การเรียนรู้ทักษะ
3. คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
4. ต้องมีแรงจูงใจภายนอก เช่น ในรูปแบบของเรื่องราว
การสาธิต และเหตุการณ์ที่ขัดแย้ง
ลักษณะของการสอนโดยตรง:
1. ผลการเรียนรู้คาดหวังชัดเจน
2. การสอนกลุ่มใหญ่ที่ครูเป็นผู้สอน
3. การกำกับติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
4. มีการตั้งคำถามความคิดในระดับต่ำ
การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1: การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจมากเพียงพอ ที่จะเกิดความตั้งใจ
ในภาระงานที่เรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย และมีส่วนร่วมจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นตอนที่ 2 : การนำเสนอข้อมูลใหม่
การถ่ายทอดข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียนผ่านวิธีต่างๆ
การอธิบาย-พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อคำถาม
- ถามทีละขั้นตอน
การสาธิต
- การเรียนการสอนที่ซับซ้อน
เครื่องมือมีจำกัด
- คำนึงถึงความปลอดภัย
- ต้องมีทักษะการคิดระดับสูง
ตำรา
- แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดและการฝึกเขียนสำหรับผู้เรียน
- การจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศการสอน
โสตทัศนูปกรณ์
-ความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่ 3: การแนะแนวทางการปฏิบัติ
การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการนำไปประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้น คือ การยืนยันความถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิด
และข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่ม
จะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม
การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้างต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ
|
การสอนตามความสนใจ คือการสอนแบบ 4 MAT มีขั้นตอนการสอน
ดังนี้
1. ให้แต่ละคนตระหนักด้วยตนเองว่า ทำไมต้องเรียน
2. วิเคราะห์ประสบการณ์
3. ปรับประสบการณ์ เป็นความคิดรวบยอด
4. หาความรู้เพิ่ม
5. ทำตามแนวความคิดที่กำหนด
6. ลงมือทำโดยสร้างชิ้นงาน ตามความถนัด และความสนใจ ให้เหมาะสมด้วยตนเอง
7. วิเคราะห์ผล
8. แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับผู้อื่น หรือประยุกต์ใช้
|
|
3. นำเสนอนวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สนใจ
ตัวอย่างนวัตกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1. รายงานการวิจัย ผลการพัฒนาความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. ชุดพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
ศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย
1) คู่มือการจัดทำศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 2 เรียนรู้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
4) เอกสารทางวิชาการเล่มที่ 3 นักวิทยาศาสตร์น้อย
3. คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
4. รายงานผลการจัดทำ และการใช้ชุดพัฒนาการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กิจกรรมที่ 9:1. ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
ก่อนนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 4 ขั้นตอน คือ
1.
กำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินหลักสูตร
(1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร
(2) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม
(3) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา
และการใช้หลักสูตร
(4) เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือของครู
เพื่อให้เกิดการดำเนินการร่วมกันอย่างยั่งยืน
ในการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
(5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม และเป็นอุปสรรค
ต่อประสิทธิภาพในการใช้หลักสูตร
(6) เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. วางแผนการดำเนินการประเมิน
กระบวนการ
P
(Plan) วางแผน
- วางแผนร่วมกันกับครู และผู้บริหาร
- วางแผนปฏิบัติการทำวิจัยร่วมกับค
A
(Action) ปฏิบัติตามแผน
- สังเกต การสอน
- สัมภาษณ์
- สังเกต สภาพทั่วไปโดยรวมของโรงเรียน (walking the hall)
- ศึกษาเอกสาร
O
(Observe) สังเกตผลที่เกิดขึ้น
R
(Reflect) สะท้อนผลและแก้ไข
- สะท้อนคิด (reflect)
- เป็นพี่เลี้ยง (mentor)
- สอนแนะ (coach)
3) ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง
นำหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ 1
ศาสนาและวัฒนธรรมไปทดลองกับโรงเรียนศรีวิชัย
4) การประเมินผลการทดลองใช้ และนำผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงหลักสูตร
ก่อนนำไปใช้จริง
(1) รูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เป็นอย่างไร
(2) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน สอดคล้องเหมาะสม ตามหลักสูตร เป็นอย่างไร
(3) ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน
(4) ปัญหาอุปสรรค ในการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปใช้มีอะไรบ้าง
(5) ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร
2. ฝึกปฏิบัติการประเมินหลักสูตร
และเขียนแผนการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร โดย
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
1) สังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางของหลักสูตร
ขณะเดียวกันต้องสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ และการตอบสนองของผู้เรียน
ที่มีต่อการเรียนการสอน โดยใช้แบบสังเกต
2) สัมภาษณ์ผู้เรียน เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการหลังจากเสร็จสิ้น การสังเกตการณ์สอน
โดยคัดเลือกนักเรียน
ที่น่าสนใจ
โดยให้เป็นเด็กกลุ่มเก่ง ปานกลางและอ่อน อย่างน้อยกลุ่มละ 2 คน รวม 6 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเห็น ความพึงพอใจ
ความต้องการของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ และการเรียนรู้ของนักเรียน
โดยใช้แบบสัมภาษณ์
3) สัมภาษณ์ครู เป็นขั้นตอนหลังจากที่เสร็จสิ้น จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนแล้ว ให้ศึกษานิเทศก์
สัมภาษณ์ครู โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบผลการสังเกต
และให้ครูสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา โดยใช้แบบการสัมภาษณ์
4) ศึกษาเอกสาร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีหลักฐานที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพัฒนา
และการใช้หลักสูตรมากขึ้น เอกสารหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้
เป็นต้น
เครื่องมือ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น
ได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1) แบบสังเกต
2) แบบการสังเกตการสอน
3) แบบสัมภาษณ์
(1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน
(2) แบบสัมภาษณ์นักเรียน
4) แบบบันทึกเอกสาร ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
(ให้ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลออกแบบบันทึกด้วยตนเอง)
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพ
การตรวจสอบความถูกต้อง
ของข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การเชื่อมโยงแบบ 3 เส้า (triangulation) คือ
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน
และเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายวิธี เช่น การสังเกตการณ์สอน
การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ การศึกษาเอกสาร และหลักฐานร่องรอย
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการ ดังนี้
1) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เอกสาร โดยจะวิเคราะห์เฉพาะเนื้อหา
ที่ปรากฏในเอกสารเท่านั้น (Manifest Content) ไม่วิเคราะห์เนื้อหา
ที่มีความนัยแฝงอยู่ จากนั้นจะสรุปใจความในเอกสาร ตามประเด็นที่ศึกษา
2) การวิเคราะห์อุปนัย (Analytic Induction) เป็นวิธีการที่ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูล
ที่ได้จากการสังเกต และการสัมภาษณ์ โดยการแยกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตีความหมาย
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้
3. ฝึกปฏิบัติการเขียนระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
ตาม SOLO Taxonomy
เชิงปริมาณ
|
เชิงคุณภาพ
|
SOLO
1
ระดับโครงสร้างเดี่ยว
|
SOLO
2
ระดับโครงสร้างหลากหลาย
|
SOLO
3
ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
|
SOLO
4
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
|
1. บอกหลักปฎิบัติตนของแต่ละศาสนา (บอก)
|
1. รู้และเข้าใจ หลักการของการปฎิบัติตนของคนนสังคม (อธิบายได้)
|
1. ศึกษาวิเคราะห์
ความแตกต่างทางหลักของศาสนาแต่ละศาสนา(วิเคราะห์ เปรียบเทียบ)
|
1. สรุป ถึงแนวทางในการปฎิบัติตนกับผู้ที่นับถือต่างศาสนา (อภิปราย สรุป)
|